Case Study น่าสนใจของ NFTs และตัวอย่างบริษัทที่ใช้ NFTs เพื่อธุรกิจ

Table of Contents
ประวัติ NFTs โดยสังเขป
บล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซีนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันไม่นานนักแต่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา หากเวลาย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของ Bitcoin ในปี 2012 ได้มี White paper ฉบับหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นมาโดย Meni Rosenfield ซึ่งในเนื้อหาพูดถึงคอนเซ็ปท์แรกของ NFT ในตอนนั้นเขาเรียกมันว่า Colored Coin และมีคุณสมบัติที่สร้างมาเพื่อใช้ในการยืนยันทรัพย์สินในโลกจริงบนโลกดิจิทัลได้
และในปี 2015 ทีมงานพัฒนาโปรแกรมของ Ethereum ก็ได้สร้างระบบที่เป็นสูตรสำเร็จในการ Mint (สร้างเหรียญ) และระบบกระจายเหรียญ NFT ได้สำเร็จด้วย Smart Contracts เนื่องจากระบบบล็อกเชนของ Bitcoin นั้นไม่รองรับการทำธุรกรรมในรูปแบบนี้ จึงเป็นต้นกำเนิดของ NFT โปรเจกต์แรกของโลกที่มีชื่อว่า CryptoPunks
กรณีศึกษา NFT ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
โดยทั่วไป NFT โปรเจกต์ต่าง ๆ ถูกมองว่าเป็นการซื้อขายภาพหรืองานศิลป์ในรูปแบบ Digital Art ซึ่งเป็น case ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยมีทั้งที่เป็นกระแสขายกันหลักล้านไปจนถึงโปรเจกต์ที่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก และอีกหนึ่งประโยชน์ใช้สอยของ NFT ที่เป็นกรณีตัวอย่างที่มีการใช้งานได้จริงคือในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Case ตัวอย่าง:
หากคุณกำลังวางแผนประกาศขายบ้านสักหลังซึ่งจำเป็นต้องมีเรื่องเอกสารมากมายมาเกี่ยวข้อง คุณสามารถสร้าง “โปรไฟล์” สำหรับบ้านของคุณพร้อมทั้งประวัติตั้งแต่เริ่มสร้าง ประวัติการซื้อขายหรือต่อเติมนี้ได้ลงในระบบของบล็อกเชน เมื่อมีคนมาติดต่อคุณก็สามารถตนำเสนอขายด้วย “โปรไฟล์” นี้ในรูปแบบของ NFT และเพิ่มความสะดวกในการทำเอกสารและข้อมูลจัดเก็บบน Smart Contracts
Propy is a real estate company implementing NFT for property selling.
https://propy.com/browse/propy-nft/
ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงถึงการใช้หลักการ NFT มาประยุกต์ใช้กับในอีกหลากหลายอุตสาหกรรมในโลกความเป็นจริงทั้งการซื้อขายรถยนต์ หุ้นหลักทรัพย์ และอื่น ๆ
ตัวอย่างบริษัทชั้นนำที่ใช้ NFT
หลักการในการนำ NFT เพื่อการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เพื่อการตรวจสอบความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้น ๆ
✓ Nike’s CryptoKicks: ในโปรเจกต์นี้ Nike ใช้ NFT สำหรับตรวจสอบรองเท้าที่จดสิทธิบัตรเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไปเป็นของจริงจากรูป NFT ที่ให้ไปพร้อมกับการซื้อผลิตภัณฑ์
✓ Gucci Vault: สำหรับบริษัท Gucci เองได้ก้าวกระโดดไปอีกขั้นในการเปิดร้านค้าออนไลน์ที่ขายเฉพาะ NFT คอลเลกชันเสื้อผ้าและเครื่องประดับนั้น ๆ เมื่อลูกค้าซื้อ NFT ดังกล่าวสามารถนำ NFT นี้เข้าไปยังหน้าร้านเพื่อรับสินค้าจริงได้อีกด้วย
ภาพรวมระยะยาวของ NFT
การใช้ NFT ในอุตสาหกรรม Supply chain นั้นถือว่าเป็นแนวคิดที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองเพื่อตรวจสอบที่มาของสินค้าอย่างเช่นนมพาสเจอร์ไรส์ในตู้เย็นที่บ้านคุณ ถึงแนวคิดนี้จะดูน่าตื่นเต้นเพียงใดสุดท้ายผู้ใช้งานก็ไม่มีความจำเป็นในการครอบครอง NFT ในรูปแบบนี้อยู่ดี
แต่แนวคิดการใช้ NFT ในการติดตามผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นประโยชน์ให้กับบริษัทที่มีความซับซ้อนด้านการขนส่งเป็นอย่างมาก ใช้ในการตรวจสอบการขนส่งตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง ตัวอย่างเช่นบริษัทในเครือ LVMH และ Prada ได้นำ NFT มาใช้ในระบบขนส่งของบริษัทแล้ว
กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้า high-end สามารถตรวจสอบที่มาและประวัติตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงวันที่วางจำหน่ายหน้าร้านและยังสามารถตรวจสอบสินค้าว่าเป็นของเทียมหรือไม่ได้อีกด้วย
อะไรคือประโยชน์ในการสร้าง NFT บน SIX Protocol
ตอบ: ทีม SIX Network มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาระบบเชนของเราให้แข็งแกร่งและใช้งานง่าย เพราะเรามีทีม Developer ที่มีความเชี่ยวชาญ ระบบ Oracle ของพันธมิตรอย่าง Chainlink และผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนที่จะนำพาคุณและโปรเจกต์ของคุณให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
ตัวอย่างโปรเจกต์ NFT ที่ทางทีม SIX Network ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนามีดังนี้ T-ARA และ Sunmiya ที่เป็นศิลปินนักร้องเกาหลี และโปรเจกต์ BUAKAW 1 ของคุณบัวขาว บันชาเมฆ
รูปแบบของ NFT ไม่ได้มีแค่การซื้อขายรูปศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่มีมาเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการตรวจสอบหรือโอนถ่ายข้อมูลในรูปแบบที่จับต้องได้ในชีวิตประจำวัน
สรุปรวม
ยังมีอีกหลายมุมที่ NFT จะไปต่อได้เช่นในมุมของ การตรวจสอบบุคคล ใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ควบคุมการเข้าถึงของระบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ที่จะเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อศึกษาที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต

Napathsorn Unchit
Passionate about financial world and is an inverstor too! Giving out news update and blog post every month.
Visit us at SIX Network for more.
Related Posts

ประกาศความร่วมมือระหว่าง SIX Network และ JFIN Chain ในการเป็น Validator Node บน SIX Protocol อย่างเป็นทางการ
SIX Network มีความยินดีที่จะประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ JFIN Chain ผู้ให้บริการด้าน Blockchain Infrastructure ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งใน Validator Node ของ SIX Protocol ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย SIX Protocol ในการขยายการใช้งานบล็อกเชนอย่างยั่งยืน การเป็น Validator

SIX Network and JFIN Chain Official Partnership Announcement as Validator Node on SIX Protocol
SIX Network is pleased to officially announce its partnership with JFIN Chain, a provider of Blockchain Infrastructure, which has joined

SIX Network and KUB Chain Official Partnership Announcement as Validator Node on SIX Protocol
SIX Network is pleased to officially announce its partnership with KUB Chain, a provider of Blockchain Full-Solution Services. KUB Chain

ประกาศความร่วมมือระหว่าง SIX Network และ KUB Chain ในการเป็น Validator Node บน SIX Protocol อย่างเป็นทางการ
SIX Network มีความยินดีที่จะประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ KUB Chain ผู้ให้บริการ Blockchain Full-Solution Service โดย KUB Chain จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งใน Validator Node บน SIX Protocol ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย SIX

SIX Network Partners with Elysia to Expand RWA into Global Markets
The collaboration between SIX Network and Elysia marks a significant step in bringing together two strong Web3 technology companies to

SIX Network ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Elysia เพื่อขับเคลื่อน RWA สู่สากล
ความร่วมมือระหว่าง SIX Network และ Elysia ถือเป็นการเชื่อมโยงพลังของบริษัทเทคโนโลยี Web3 ชั้นนำที่มีความแข็งแกร่งเพื่อพัฒนา ecosystem และเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนในระดับภูมิภาค ร่วมพัฒนาศักยภาพ RWA บนเทคโนโลยี Web3 ความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเสริมสร้าง ecosystem ของสินทรัพย์จริงในโลกดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาช่วยให้การเข้าถึงสินทรัพย์จริงอย่างอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์มูลค่าสูงง่ายขึ้น นอกจากการขยายตลาดและผู้ใช้งานในไทยและระดับสากล ความร่วมมือระหว่าง